แชร์

ปวดเข่าอยู่ใช่ไหม...เริ่มรู้สึกปวดหัวเข่า เข่ามีเสียงก๊อกแก๊ก ใช่ “ข้อเข่าเสื่อม”หรือไม่

อัพเดทล่าสุด: 25 ก.ย. 2023
312 ผู้เข้าชม

เช็คอาการปวดเข่า เข่ามีเสียง สัญญาณ ข้อเข่าเสื่อม

รู้สึกปวดเข่า โดยเฉพาะเวลางอเข่าหรือเมื่ออากาศเย็นๆ
2. รู้สึกปวดเข่า เวลาขึ้นลงบันได วิ่ง หรือ กระโดด
3. ได้ยินเสียงก๊อกแก๊กเวลางอเหยียดเข่า
4. รู้สึกปวดเข่ามากขึ้นเมื่อนั่งพับเพียบ นั่งยองๆ หรือนั่งในท่าที่เข่างอมากๆ
5. รู้สึกปวดเข่า และปวดเสียวมากขึ้นเมื่อต้องลงน้ำหนัก หรือยืนด้วยขาข้างเดียว
6. ไม่ค่อยมีแรง ทรงตัวไม่ค่อยได้ ขาโก่งมากขึ้น

หากคุณมีอาการเหล่านี้ข้อใดข้อหนึ่ง
หรือเริ่มมีเสียงก๊อกแก๊กดังจากหัวเข่า
ร่วมกับมีอาการปวด ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้
หยุดดูคลิปนี้ก่อน เลื่อนผ่าน คือพลาดดดด
ข่าวดี!!! สำหรับท่านที่ปวดข้อ ปวดเข่าฟังข่าวนี้คะ

 เอมมูร่า (Aimmura) ถือเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรม ที่เกิดจากการค้นคว้าวิจัยและพัฒนา โดย ศ.ดร.ปรัชญา คงทวีเลิศ ผู้อำนวยการศุนย์วิจัยด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อและเซลล์ต้นกำเนิด ภาควิชาเคมี คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้ทำการศึกษาเจาะลึกถึงคุณค่าของ สารสกัดในงาดำ และได้ค้นพบคุณค่าที่เต็มเปี่ยมล้นของสารสกัดจางาดำ ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูแลสุขภาพและภูมิคุ้มกันที่ดี และได้พัฒนามาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเอมมูร่า เซซซามิน สารสกัดจากงาดำ ผลงานวิจัยนี้ได้รับการจดสิทธิบัตรทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ

จากผลการวิจัยต่างๆ ทั่วโลกยกย่องให้งาดำ เป็นหนึ่งในสารอาหารเสริมจำพวก Anti-osteoarthritis (สารต้านโรคกระดูกอักเสบ) และ Anti-osteoporosis (สารต้านโรคกระดูกเสื่อม) เนื่องจากในงาดำนี้มีสารเซซามิน ที่สามารถลดการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อนได้ เป็นการรักษาที่กระดูกอ่อน รักษาแบบไม่ใช้ยาได้เป็นครั้งแรกของโลกอีกด้วย


ปวดเข่าอยู่ใช่ไหม...เริ่มรู้สึกปวดหัวเข่า เข่ามีเสียงก๊อกแก๊ก ใช่ ข้อเข่าเสื่อมหรือไม่

ปวดเข่า คืออาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณข้อต่อซึ่งเชื่อมระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้รองรับน้ำหนักของร่างกาย อาการปวดเข่าพบได้ในคน ทุกเพศทุกวัย แต่มักมีกลุ่มเสี่ยงเป็นผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน และนักกีฬาที่ต้องใช้กำลังขาและเข่ามาก ปวดเข่าเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ คนที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมและเจ็บเข่า มักจะมีอาการ เช่น ปวดเข่า เจ็บเข่า ข้อเข่าฝืดหรือติดขัด ได้ยินเสียงดังในเข่า เข่าบวม รู้สึกขาไม่มีกำลังหรือเข่าอ่อนแรง อาจจะปวดเวลาขึ้น-ลงทางชันหรือบันได ปวดเวลานั่งกับพื้น เช่น นั่งพับเพียบ ขัดสมาธิหรือคุกเข่า ปวดเวลาเดินบนพื้นราบ



ข้อเข่าเสื่อมเกิดในคนอายุน้อยได้หรือไม่?
ข้อเข่าเสื่อมในคนอายุน้อยกว่า 50 ปี และอาการเจ็บเข่า สามารถเกิดได้ โดยมีสาเหตุส่วนใหญ่จากอุบัติเหตุรุนแรงบริเวณข้อเข่ามาก่อนส่งผลให้แนวแกนรับน้ำหนักข้อเข่าผิดปกติไป มีกระดูกอ่อนข้อเข่าบาดเจ็บ และเกิดอาการ เจ็บเข่า มีโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น รูมาตอยด์ ทำให้ผิวกระดูกอ่อนถูกทำลายตั้งแต่อายุน้อย หรือเป็นโรคกระดูกตายบริเวณข้อเข่า (osteonecrosis) ซึ่งส่งผลต่อมาทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ตั้งแต่อายุน้อย

สาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นประกอบด้วยหลายสาเหตุรวมกัน ไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงอย่างเดียว ได้แก่ อายุที่มากขึ้น น้ำหนักตัวมาก เช่น เป็นโรคอ้วน การใช้งานข้อเข่าที่มาก และเกิดอาการเจ็บเข่า
ประวัติเคยประสบอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่าอย่างรุนแรง เช่น กระดูกหักเข้าข้อ เอ็นข้อเข่าฉีกขาด แหวนรองข้อฉีดขาด ประวัติเคยติดเชื้อในข้อเข่า โรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น รูมาตอยด์ หรือ เกาต์ เพศ จากการศึกษาพบว่าเพศหญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าเพศชาย พันธุกรรม พบว่าผู้ที่มีพ่อ แม่ หรือญาติพี่น้อง เป็นข้อเข่าเสื่อม มีความเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น มักจะมีลักษณะที่มีความเสื่อมของข้อทั่วตัวเช่น มือ นิ้ว กระดูกสันหลัง เข่า เป็นต้น


สาเหตุที่เป็นไปได้และพบได้บ่อยของอาการปวดข้อเข่าเฉียบพลัน ได้แก่
เอ็นอักเสบ/ Runners knee (กลุ่มอาการปวดข้อเข่าที่พบในนักวิ่ง) / เอ็นฉีกขาด / ข้อเข่าเสื่อม / หมอนรองข้อเข่าฉีดขาด / เกาต์ / ถุงน้ำข้อเข่าอักเสบ/ ข้อเข่าติดเชื้อ / กระดูกแตกร้าว

เวลาเดิน ลุก หรือนั่งแล้วเจ็บเข่า ควรทำอย่างไร?
ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมักจะมีปัญหาอาการปวดเข่า เวลาเดิน นั่งกับพื้น หรือลุกจากนั่ง ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อย ในกรณีที่อาการไม่มาก การปรับเปลี่ยนท่าทางและพฤติกรรม เช่น นั่งกับเก้าอี้แทนการนั่งกับพื้น การใช้แขนช่วยยันตัวขึ้นตอนลุกจากนั่ง หรือการใช้ไม้เท้าช่วยพยุงเวลาเดิน รวมถึงการบริหารกำลังกล้ามเนื้อต้นขาจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บเข่าได้ แต่ในกรณีที่มีอาการมาก หรือปรับเปลี่ยนท่าทางแล้วอาการปวดไม่บรรเทา แนะนำปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ให้การรักษาและคำแนะนำต่อไป

ข้อเข่าเสื่อมแล้วออกกำลังกายได้หรือไม่?
การออกกำลังกายเป็นคำแนะนำให้ควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม โดยแนะนำให้ออกกำลังกายด้วยวิธีที่ไม่สร้างภาระให้กับข้อเข่า หลีกเลี่ยงการกระโดด กระแทก การบิดเข่า เป็นต้น สำหรับการออกกำลังกายในน้ำ เช่น ว่ายน้ำ หรือเดินในน้ำ จะช่วยให้ข้อเข่ารับภาระน้อยลง มีการฝึกการเคลื่อนไหวของข้อเข่าได้ดี รวมถึงการออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานนั้นสามารถทำได้ การบริหารกำลังกล้ามเนื้อต้นขาโดยไม่ใช้น้ำหนักต้าน เช่น การนั่งเกร็งต้นขาและยกปลายเท้าขึ้น จะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ช่วยบรรเทาอาการปวดได้
ผู้ที่มีอาการเจ็บบริเวณข้อเข่าด้านหน้า ซึ่งมีความเสื่อมของข้อสะบ้า ให้หลีกเลี่ยงการลุกนั่ง การก้าวขึ้นที่สูง การออกแรงเหยียดเข่าโดยมีแรงต้าน เป็นต้น เพราะจะทำให้เจ็บและมีการเสื่อมมากขึ้น

การฉีดยาน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่าช่วยรักษาได้อย่างไร และช่วยรักษาอาการได้นานแค่ไหน?
ถ้าเปรียบข้อเข่าเหมือนกระบอกสูบรถยนต์ที่จะทำงานได้ดีเมื่อมีน้ำมันหล่อลื่น ในคนปกติจะมีเนื้อเยื่อรอบหัวเข่าผลิตสารหล่อลื่นช่วยในการเคลื่อนไหวในข้อเข่า เมื่อมีอาการข้อเข่าเสื่อมน้ำมันหล่อลื่นในข้อเข่ามีการเปลี่ยนสภาพไป ไม่มีประสิทธิภาพเท่าเดิม รวมถึงอาจมีปริมาณน้อยกว่าเดิมในผู้ป่วยบางคน จากการศึกษา (meta-analysis) พบว่าการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่าเทียมสามารถช่วยลดอาการปวด และเพิ่มการเคลื่อนไหวข้อเข่าได้ในผู้ป่วยบางคนเท่านั้น โดยจะช่วยรักษาอาการได้ประมาณ 6 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อมของผู้ป่วย

พฤติกรรมอะไรบ้างที่ส่งเสริมให้เกิดข้อเข่าเสื่อม?
การใช้งานข้อเข่าที่รุนแรงหรือในท่าผิดปกติ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เช่น การวิ่งมาราธอน การทำงานหรือกิจกรรมที่ต้องนั่งยองหรือคุกเข่านานๆ สามารถส่งเสริมให้เกิดข้อเข่าเสื่อมและเจ็บเข่าได้ในอนาคต

ข้อเข่าเสื่อมจำเป็นต้องผ่าตัดหรือไม่?
ข้อเข่าเสื่อมแบ่งความรุนแรงทางภาพเอกซเรย์ได้ 4 ระดับ ซึ่งความรุนแรงระดับที่ 3 หรือ 4 เป็นระดับที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด อย่างไรก็ตามการจะรักษาด้วยวิธีผ่าตัดยังต้องพิจารณาร่วมกับกับอาการปวด และคุณภาพชีวิตในด้านการยืน เดิน ของผู้ป่วย ดังนั้นผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมไม่จำเป็นต้องผ่าตัดรักษาทุกราย


การป้องกันข้อเข่าเสื่อมควรทำอย่างไร?
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมคือ อายุที่มากขึ้น ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยการปรับเปลี่ยนท่าทางและพฤติกรรม เช่น รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อเข่าที่รุนแรง ติดต่อกันระยะเวลานาน และออกกำลังกายบริหารกำลังกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรง

แก้ไขอาการปวดเข่า เข่ามีเสียงได้อย่างไร?
การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ ในกรณีที่เกิดเสียงดังที่เกิดจากข้อเข่าเสื่อม การรักษาในระยะแรกอาจใช้วิธีการบริหารหัวเข่า ถ้าอาการยังไม่มาก อาจเริ่มจากการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า และกล้ามเนื้อสะโพก รวมถึงหลีกเลี่ยงการงอเข่ามากๆ เมื่อกล้ามเนื้อทั้ง 2 ส่วนนี้แข็งแรงแล้วจะช่วยทำให้ลูกสะบ้าเอียงน้อยลง ช่วยลดแรงกระแทก นอกจากนี้ควรใช้งานข้อเข่าอย่างถูกวิธี รับประทานยาบำรุงข้อ ใช้ที่พยุงข้อ ฉีดยา ฉีดน้ำเลี้ยงข้อเทียม หรือวิธีการผ่าตัด แต่หากเป็นหมอนรองกระดูกฉีกขาดอาจใช้วิธีบริหารข้อเข่า ฉีดยา หรือถ้าเป็นมากอาจต้องผ่าตัดส่องกล้อง

ทั้งนี้วิธีแก้ไขรักษาดังที่กล่าวมาจำเป็นต้องทำร่วมกับการลดน้ำหนักตัว เพราะน้ำหนักตัวมีผลต่อแรงกระแทกบริเวณข้อเข่า หากเรามีน้ำหนักตัวที่พอดี ก็จะช่วยลดแรงกระแทกภายในข้อเข่าลงไปได้ และหลีกเลี่ยงการยืน เดินนานๆ เพราะจะทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักตัวตลอดเวลา และเพิ่มอาการบาดเจ็บมากขึ้น การรักษาอาการปวดเข่าด้วยวิธีธรรมชาติ

จากงานวิจัยพบว่ามีสารเซซามินมีสรรพคุณในการช่วยรักษาอาการปวดเข่าได้ ดังนี้ จากผลการศึกษา วิจัยพบว่า สารเซซามินสามารถลดการสลายของเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนได้ โดยพบว่ากลไกนั้นเกิดจากการไปยับยั้งการส่งของสาร Pro-inflammatory Cytokine ชนิด (inter leukin ) IL-1 bata ซึ่งเป็นตัวหลักที่ก่อให้เกิด การอักเสบภายในเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน จึงเป็นแนวทางที่ดีในการนำไปพัฒนาเพื่อใช้รักษาโรคข้ออักเสบได้อีกด้วย

เป็นสารสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ100% กระบวนการผลิตมาตรฐานสูง(GMP) มี อ.ย. ประสิทธิผลในการรักษาสูง และมีความปลอดภัยสูงมากไม่ใช่ยาแก้ปวด หรือ ยาคลายกล้ามเนื้อ แบบยาฝรั่ง ที่แก้ที่ปลายเหตุเท่านั้น แต่จะไปฟื้นฟูจากต้นเหตุภายในที่เป็นปัญหา และ ไม่ใช่ยาถ่าย หรือ ยาระบายท้อง ตามที่เคยคุ้นหูคุ้นตากันตามทั่วไปไม่มีผลข้างเคียงต่อกระเพาะอาหาร ไม่มีผลต่อตับและไต ใดๆ


บทความที่เกี่ยวข้อง
สารเซซามิน สรรพคุณ ประโยชน์ โทษต่อร่างกาย
ข้อมูลดังกล่าวถูกรวบอ้างอิงจากงานวิจัยทั้งหมด สารเซซามินคือ ??? สารเซซามิน (sesamin) จัดอยู่ในกลุ่มสารลิกแนน (lignans) ชนิดหนึ่งพบมากที่สุด ที่สกัดจากเมล็ดงาดำ (Black Sesame Seeds) สามารถพบได้ในพืชตระกูลงา ต่างๆ เช่น งาขาว งาแดง งาขี้ม้อน  เป็นสารชีวโมเลกุลขนาดเล็กสามารถละลายได้ในไขมัน ซึ่งข้อมูลการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารเซซามินในด้านต่างๆที่อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและมีสรรพคุณในการบำรุงสุขภาพได้ชื่อว่าเป็น ราชันแห่งธัญพืช ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง และในปัจจุบันยังมีการสกัดสารเซซามินจากเมล็ดงาออกมาเพื่อใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ หรือนำไปเติมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากสารเซซามิน เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมงาดำ(แนะนำเป็นของอาจารย์ปรัชญา) นมพร้อมดื่ม น้ำสลัด ขนม และเบเกอรี่ รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมความงามต่างๆ อีกด้วย
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy