แชร์

ปวดเข่าอาจไม่ใช่แค่ข้อเข่าเสื่อม

อัพเดทล่าสุด: 27 ธ.ค. 2023
358 ผู้เข้าชม

เข่าของเรา
เข่าเป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักตัว เข่าประกอบขึ้นจากกระดูก 3 ชิ้น คือ กระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้ง และกระดูกสะบ้า ปลายของกระดูกจะมีกระดูกอ่อนปกคลุมอยู่ ทำหน้าที่ให้ข้อเข่าเคลื่อนไหวด้วยความราบเรียบ ระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้งจะมีกระดูกอ่อนรูปวงแหวนช่วยรับน้ำหนักด้วย รอบ ๆ ข้อจะมีเอ็นและเยื่อหุ้มข้อทำหน้าที่ส่งเสริมความแข็งแรงให้กับข้อ ถุงน้ำรอบ ๆ ข้อเข่าจะทำหน้าที่ลดแรงเสียดทานระหว่างเอ็นกับกระดูกเมื่อข้อมีการเคลื่อนไหว


โดยอาการปวดเข่านั้นอาจเป็นการเกิดแบบเฉียบพลัน หรือเป็นแบบเรื้อรังที่ค่อยๆ พัฒนาความรุนแรงของโรคไปตามกาลเวลา หากเกิดอาการปวดเข่าแล้ว จะทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว รู้สึกรำคาญ เดินไม่สะดวก หรือรู้สึกว่าไม่สามารถลงน้ำหนักไปบนขาข้างที่มีอาการปวดได้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพด้านอื่นๆ และคุณภาพชีวิต

เมื่อข้อเข่ามีปัญหาจะมีอาการอย่างไร ?
อาการเริ่มแรกของข้อเข่าที่มีปัญหาคืออาการปวด ซึ่งในระยะแรกอาจเป็นอาการปวดเป็น ๆ หาย ๆ และปวดมากเมื่อมีการใช้งานของข้อเข่า เช่น การยืนนาน ๆ หรือการเดินขึ้นลงบันได เมื่อเป็นนานเข้าจะมีอาการฝืดขัด อาการปวดจะเป็นมากขึ้นและรุนแรงขึ้น อาจมีการสะดุดหรือข้อติดขัดเวลาเดินในรายที่เป็นมาก ๆ ข้อจะบวม
สาเหตุของอาการปวดข้อเข่ามีอะไรบ้าง ?

อาการปวดเข่า เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง
อันที่จริงแล้ว สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเข่านั้นมีมากมายหลากหลายข้อแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับ อายุ น้ำหนักตัว ระดับความหนักของกิจกรรมที่ทำ หรือแม้กระทั่งปัจจัยเสี่ยงด้านอื่นๆ ก็ส่งผลให้เกิดอาการปวดเข่าด้วยเช่นกัน สาเหตุของอาการปวดเข่าที่พบได้มาก มีดังนี้

1. ข้อเข่าเสื่อม
เป็นสาเหตุหลักของอาการปวดเข่าที่พบได้มากที่สุด ซึ่งแม้ว่าโรคนี้จะไม่ได้เป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิต แต่ก็ถือว่าเป็นโรคเรื้อรังที่สามารถสร้างความทุกข์ทรมานให้แก่ร่างกายจากอาการเจ็บปวดดังกล่าวได้ อีกทั้งยังทำให้ผู้ป่วยเดินได้ไม่เหมือนเดิม เช่น เดินตัวเอียง เดินแล้วต้องเอนตัวไปมา หรือต้องมีคนคอยพยุงเวลาเดิน เป็นต้น

ถือว่าเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของตัวผู้ป่วยเอง และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเช่นกัน อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดหรืออาการผิดปกติของส่วนอื่นๆ ของร่างกายตามมาได้ เช่น อาการปวดหลัง เป็นต้น

อาการของข้อเข่าเสื่อมในระยะแรกและปานกลางนั้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเมื่อมีแรงกดบีบลงบนผิวข้อเข่ามากๆ เช่น ตอนลุกยืนจากท่านั่ง การนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งยองๆ หรือเดินขึ้นลงบันได และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เข่ามีเสียงดังกรอบแกรบขณะงอหรือเหยียดเข่า เป็นต้น

หากเป็นในข้อเข่าเสื่อมระยะหลังแล้ว อาการปวดเข่ามักเกิดทุกครั้งเมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อเข่า มีการยืน การเดิน และอาจพบอาการผิดรูปของข้อเข่า มีเข่าโก่ง ข้อเข่าติด งอเหยียดได้ไม่สุดร่วมด้วย

ข้อเข่าเสื่อมที่เกิดจากการเสื่อมตามธรรมชาตินั้น อาจเกิดจากการใช้งานข้อเข่ามากเกินไปต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ จากการทำกิจกรรม ซ้ำๆ จนทำให้เกิดการสึกหรอของผิวข้อเข่า พบมากในผู้ที่เล่นกีฬาบางชนิดบ่อยๆ เช่น การออกกำลังกายประเภทที่มีแรงกระแทกต่อข้อเข่ามาก หรือผู้ที่ทำงานแบบเดิมซ้ำๆ เช่น การยกของหนักเป็นประจำ เป็นต้น
ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย นอกจากอาการข้อเข่าเสื่อมจะเกิดตามธรรมชาติได้แล้ว ยังสามารถเกิดก่อนวัยได้อีกด้วย ซึ่งการเกิดข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยนั้น เป็นผลพวงมาจากการเกิดอุบัติเหตุที่ข้อเข่าตั้งแต่อายุยังน้อย การเล่นกีฬาที่มีแรงกระแทกต่อข้อเข่ามากๆ หรือแม้กระทั่งการนั่งในท่าที่ไม่เหมาะสมบ่อยๆ ก็ถือว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยได้ด้วยเช่นกัน
ข้อเข่าเสื่อมอาจเป็นผลของโรคบางชนิด รวมถึงผลจากความผิดปกติอื่นๆ ในบริเวณข้อเข่า (ภาวะข้อเข่าเสื่อมทุติยภูมิ) เช่น ภาวะกระดูกข้อเข่าตายจากการขาดเลือด (Osteonecrosis of knee) ภาวะกล้ามเนื้อต้นขาลีบ (Quadriceps muscle atrophy) โรคกระดูกพรุนอักเสบ (Osteochondritis dissecans: OCD) เป็นต้น


2. Patellofemoral Pain Syndrome หรือ Runners Knee
เกิดจากกระดูกอ่อนที่รองลูกสะบ้าอยู่นั้นมีการสึกหรอหรือเสื่อมสภาพไป ซื่งมีสาเหตุจากการที่มีแรงกดที่มากเกินไปต่อลูกสะบ้า หรืออาการกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าและต้นขาไม่สมดุล ทำให้กล้ามเนื้อบางส่วนดึงตัวลูกสะบ้าออกไปจากตำแหน่งที่เคยอยู่ จึงก่อให้เกิดอาการปวดขึ้น โดยเฉพาะตอนเดินลงบนทางลาดชัน และเดินลงบันได

3. โรคข้ออักเสบบางชนิด
เช่น รูมาตอยด์ เกาต์ เป็นต้น ซึ่งนอกจากอาการปวดแล้ว ยังก่อให้เกิดอาการอักเสบของข้อ คือ อาการบวม แดง ร้อน และเกิดเข่าติดได้เช่นกัน

4. หมอนรองข้อเข่าและเส้นเอ็น
ภายในหรือรอบๆ ข้อเข่าได้รับบาดเจ็บ เช่น หมอนรองข้อเข่าฉีกขาด เอ็นไขว้หน้าขาด เอ็นเข่าด้านในได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น

วิธีดูแลตัวเองขั้นพื้นฐานเมื่อมีอาการปวดเข่า
สำหรับผู้ที่คิดว่าตัวเองเริ่มมีอาการปวดข้อเข่า และกังวลว่าอาจจะมีอาการรุนแรงมากขึ้นในอนาคต สามารถนำวิธีปฏิบัติตัวขั้นพื้นฐานเหล่านี้ไปลองปรับใช้กับชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดเข่าเบื้องต้นด้วยตนเองได้

1. การควบคุมน้ำหนัก
สำหรับคนที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน ควรเริ่มควบคุมอาหาร รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และถูกหลักโภชนาการ ในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะ you are what you eat กินอย่างไรได้อย่างนั้น หากเราเลือกรับประทานได้ดี น้ำหนักก็จะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ ก็จะทำให้น้ำหนักไปตกที่ข้อเข่าน้อยลง ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดข้อเข่า และหลีกเลี่ยงภาวะข้อเข่าเสื่อมที่อาจเกิดขึ้นได้อีกด้วย

2. การออกกำลังกาย ป้องกันอาการปวดเข่า
เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาและกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า เพื่อให้กล้ามเนื้อที่แข็งแรงช่วยพยุงข้อเข่า และถ่ายเทน้ำหนักจากข้อเข่ามาที่กล้ามเนื้อ ทำให้ข้อเข่าไม่ต้องรับน้ำหนักมากจนเกินไป สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยท่าบริหารร่างกายที่ไม่มีแรงกระแทกจากน้ำหนักของร่างกาย โดยต้องเลือกให้เหมาะสมกับช่วงอายุของแต่ละบุคคล ซึ่งหากเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ก็ควรออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่อข้อเข่าน้อยเป็นประจำ เช่น การว่ายน้ำ การเดิน การเต้นแอโรบิกที่ไม่มีท่าที่ต้องกระโดด การปั่นจักรยานอยู่กับที่ เป็นต้น

สำหรับกลุ่มคนที่อายุยังไม่มากนัก ก็สามารถเลือกออกกำลังกายด้วยการวิ่งจ๊อกกิ้งเบาๆ การเดินเร็ว การเต้นแอโรบิค หรือการทำบอดี้เวทเทรนนิ่ง (Body Weight Training) ก็เป็นอีกทางเลือกนึงที่น่าสนใจเช่นกัน (ดูตัวอย่างท่าออกกำลังกายเพื่อป้องกันอาการปวดเข่าได้ ที่นี่)

3. การปรับไลฟ์สไตล์และท่าทางต่างๆ ที่เหมาะสม
ควรปรับเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ ทุก 20-30 นาที พยายามลุกจากที่นั่งไปเดินบ้าง ซึ่งนอกจากจะหลีกเลี่ยงอาการปวดข้อเข่าแล้ว ยังช่วยป้องกันไม่ได้เกิดอาการปวดที่กล้ามเนื้อบริเวณคอและบ่าทั้งสองข้าง หรือ ออฟฟิศซินโดรม ได้อีกด้วย
การจัดท่านั่งให้ถูกต้องเหมาะสม ควรนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น จะทำให้ลุกได้ง่ายขึ้น เพราะมีการใช้แขนช่วยยันตัวขึ้นตอนลุกจากที่นั่ง ทำให้เกิดกดที่ข้อเข่าน้อยลง การใช้ไม้เท้าช่วยพยุงเวลาเดิน


หลีกเลี่ยงการนั่งที่ต้องมีการงอเข่าหรือพับเข่ามากๆ เป็นเวลานานๆ เช่น การนั่งยองๆ นั่งสมาธิ นั่งพับเพียบ เนื่องจากท่านั่งเหล่านี้ทำให้เกิดแรงกดที่ผิวข้อเข่าเป็นอย่างมาก อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรคข้อเข่าเสื่อมได้ในอนาคต
ควรหลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง เนื่องจากอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการกระดูกสันหลังคดและอาการปวดข้อเข่าได้ในอนาคต โดยเฉพาะข้อเข่าด้านที่มักจะไขว้อยู่ด้านบนตลอด หรือแม้แต่การใส่รองเท้าส้นสูงก็มีส่วนที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อเข่าได้ ควรหลีกเลี่ยงหากทำได้ แต่หากมีความจำเป็นต้องใส่จริงๆ ก็ควรพักเท้าทุกๆ 1 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย

4. แนะนำทานอาหารเสริม U-Profex Unioil ยูโปรเฟค ยูนิออย ฟื้นฟูกระดูกและข้อได้อย่างตรงจุด โดยไม่ใช่ยา ไม่ต้องผ่า  "สารอาหารเฉพาะทาง" นวัตกรรมใหม่ !!!
สารสกัดจากธรรมชาติ  ปัญหาปวดขา ปวดข้อ ปวดกระดูก หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เดินร้าวบริเวณข้อ กระดูกลั่น กระดูกพรุนก่อนวัย เรื่องกระดูกต้องใส่ใจ เพราะไม่มีอะไหล่เปลี่ยน

ผลิตภัณฑ์ช่วยลดอาการปวด บวม อักเสบอย่างเร่งด่วน ฟื้นฟูกระดูกอ่อน บริเวณข้อต่อให้สร้างผิวกระดูกอ่อนใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
เหมาะสำหรับ แก้การอักเสบของหมอนรองกระดูกเสื่อม เข่าเสื่อม ข้ออักเสบ กระดูกทับเส้น ที่สำคัญ! ไม่มีผลข้างเคียง ไม่กัดกระเพาะ และดูแลโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ ยินดีให้คำปรึกษาแนะนำ  สอบถามโทร 097-3092-226 คุณอัน

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
UPro-fex Uni-Oil
U-Profex Joint Bone & Uni-oil ดีไหม หาหมอแล้วไม่หาย ฉีดยาก็แล้วดีขึ้นช่วงหนึ่ง ไม่นานก็กลับมาปวดอีกครั้ง ทั้งทำกายภาพบำบัด นวด ดึงหลัง ฝังเข็ม ทำมาทุกอย่างพอทุเลาไม่หาย กินอาหารเสริมมาหลายตัวแต่ก็ไม่ดีขึ้น และกลับไปหาหมออีกครั้งพร้อมคำแนะนำให้ผ่า ซึ่งไม่ได้การันตีว่าจะหายเป็นปกติหรือป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้อีก
กระดูกทับเส้นประสาทไม่ควรกินอะไร บำรุงกระดูก ให้ถูกโภชนาการ
ไม่ควรทานอาหารที่มีฟอสเฟสสูงจนเกินไป สามารถเลี่ยงไปทาน ไข่ขาว เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน น้ำชาที่ไม่ใส่นม น้ำสมุนไพรอย่าง น้ำขิง น้ำใบเตย น้ำมะนาว น้ำอัญชัน ข้าว เส้นก๋วยเตี๋ยว
Office Syndrome
คุณรู้หรือไม่?? อาการเจ็บปวดตามจุดต่างๆ ในร่างกาย... บ่งบอกถึงอะไร ลักษณะเด่นของโรคนี้ คือ อาการปวด ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตามจุดต่างๆ ทั่วร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีปัญหาในปวดที่เรื้อรัง อันเนื่องมาจากสาเหตุที่ไม่สามารถระบุได้ชัดเจน อาจเกิดจากความเครียด การทำกิจกรรมที่ใช้ร่างกายเป็นระยะเวลานาน การนอน คือ นอนไม่หลับ หรือนอนหลับก็ไม่สนิท ซึ่งเมื่อเป็นแบบนี้ก็ทำให้อาการปวดรุนแรง เจ็บปวดตามร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy