เช็คอาการแบบนี้ใช่ "ออฟฟิศซินโดรม" หรือเปล่า?
อัพเดทล่าสุด: 27 ธ.ค. 2023
424 ผู้เข้าชม
โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

โรคออฟฟิศซินโดรม ไม่ใช่โรคร้ายแรง สามารถรักษาหายได้ ซึ่งโรคนี้จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ นานๆ ซึ่งจะพบส่วนใหญ่ได้ในพนักงานออฟฟิศ คนออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งนักกีฬา แต่ในสถานการณ์ในปัจจุบันในคนอายุน้อยๆ เช่นนักเรียน และนักศึกษา หรือคุณครู ที่มีการเรียนการสอนผ่าน Online ทำให้มีการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรืออยู่กับหน้าจอโทรศัพท์เป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ และมีอาการชาร่วมด้วย
โดยอาการออฟฟิศซินโดรมสามารถเป็นได้ง่ายและสามารถป้องกันได้ง่ายเช่นกัน เพียงแค่ปรับเปลี่ยนวิธีการนั่งที่ถูกต้องและการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง เป็นอย่างไร ?
การที่เรานั่งผิดท่า เป็นระยะเวลายาวนานในแต่ละวัน อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เรา มีอาการปวดหลัง เกิดอาการเมื่อยล้าได้โดยที่ไม่รู้ตัว เช่น ท่านั่งผิดๆ ดังต่อไปนี้
ท่านั่ง เราเอนพิงพนักโดยเว้นช่องว่างระหว่างสะโพกกับพนักพิง ทำให้ส่งผลต่อกระดูกสันหลังช่วงล่างงอเป็นทรงโค้ง
ท่านั่งที่มีลักษณะกายภาพ แบบ หลังค่อม นั่งห่อไหล่ ส่งผลให้เมื่อย เกร็ง บริเวณ กล้ามเนื้อต้นคอ สะบัก อยู่ตลอดเวลา
การใช้งานคอมพิวเตอร์ ด้วยตำแหน่งการจับเม้าที่ท่าทางผิดธรรมชาติ เป็นระยะเวลาต่อเนื่องนานๆ หรือการนั่งเล่นมือถือด้วยท่าเดิม ในระยะยาว อาจส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาท เส้นเอ็นอักเสบ เกิดพังผืดยึด นิ้วล็อกหรือข้อมือล็อกได้
6 วิธีง่ายๆ เปลี่ยนพฤติกรรมขณะทำงาน

ควรลุกขึ้นมายืดกล้ามเนื้อทุก 1 ชั่วโมง เพื่อพักสายตาและเพื่อพักกล้ามเนื้อ
ระดับข้อศอกและข้อมือ ควรเป็นระนาบเดียวกันกับแป้นคีย์บอร์ด
ระดับสายตาของเราต้องอยู่ในระดับที่พอดีกับจอภาพ ของอุปกรณ์นั้นๆ
นั่งให้เต็มก้นและนั่งหลังตรง โดยให้หลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้ การนั่งพิงพนักจะช่วยเรื่องการจัดระเบียบหลัง ช่วยให้หลังนั้นตรงโดยอัตโนมัติ ไปตามแนวของพนักพิง แต่หากเก้าอี้ไม่มีพนักพิงเราต้องพยายามฝึกให้นั่งหลังตรงอยู่เสมอๆ
เก้าอี้ที่ดีควรปรับระดับความสูง-ต่ำได้ แต่หากปรับไม่ได้ ก็อาจจะต้องหาเก้าอี้ม้านั่งตัวเล็กวางไว้ด้านล่างเพื่อวางเท้า
ควรพักสายตาจากหน้าจอทุก 30-40 นาที

โรคออฟฟิศซินโดรม ไม่ใช่โรคร้ายแรง สามารถรักษาหายได้ ซึ่งโรคนี้จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ นานๆ ซึ่งจะพบส่วนใหญ่ได้ในพนักงานออฟฟิศ คนออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งนักกีฬา แต่ในสถานการณ์ในปัจจุบันในคนอายุน้อยๆ เช่นนักเรียน และนักศึกษา หรือคุณครู ที่มีการเรียนการสอนผ่าน Online ทำให้มีการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรืออยู่กับหน้าจอโทรศัพท์เป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ และมีอาการชาร่วมด้วย
โดยอาการออฟฟิศซินโดรมสามารถเป็นได้ง่ายและสามารถป้องกันได้ง่ายเช่นกัน เพียงแค่ปรับเปลี่ยนวิธีการนั่งที่ถูกต้องและการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง เป็นอย่างไร ?
การที่เรานั่งผิดท่า เป็นระยะเวลายาวนานในแต่ละวัน อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เรา มีอาการปวดหลัง เกิดอาการเมื่อยล้าได้โดยที่ไม่รู้ตัว เช่น ท่านั่งผิดๆ ดังต่อไปนี้
ท่านั่ง เราเอนพิงพนักโดยเว้นช่องว่างระหว่างสะโพกกับพนักพิง ทำให้ส่งผลต่อกระดูกสันหลังช่วงล่างงอเป็นทรงโค้ง
ท่านั่งที่มีลักษณะกายภาพ แบบ หลังค่อม นั่งห่อไหล่ ส่งผลให้เมื่อย เกร็ง บริเวณ กล้ามเนื้อต้นคอ สะบัก อยู่ตลอดเวลา
การใช้งานคอมพิวเตอร์ ด้วยตำแหน่งการจับเม้าที่ท่าทางผิดธรรมชาติ เป็นระยะเวลาต่อเนื่องนานๆ หรือการนั่งเล่นมือถือด้วยท่าเดิม ในระยะยาว อาจส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาท เส้นเอ็นอักเสบ เกิดพังผืดยึด นิ้วล็อกหรือข้อมือล็อกได้
6 วิธีง่ายๆ เปลี่ยนพฤติกรรมขณะทำงาน

ควรลุกขึ้นมายืดกล้ามเนื้อทุก 1 ชั่วโมง เพื่อพักสายตาและเพื่อพักกล้ามเนื้อ
ระดับข้อศอกและข้อมือ ควรเป็นระนาบเดียวกันกับแป้นคีย์บอร์ด
ระดับสายตาของเราต้องอยู่ในระดับที่พอดีกับจอภาพ ของอุปกรณ์นั้นๆ
นั่งให้เต็มก้นและนั่งหลังตรง โดยให้หลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้ การนั่งพิงพนักจะช่วยเรื่องการจัดระเบียบหลัง ช่วยให้หลังนั้นตรงโดยอัตโนมัติ ไปตามแนวของพนักพิง แต่หากเก้าอี้ไม่มีพนักพิงเราต้องพยายามฝึกให้นั่งหลังตรงอยู่เสมอๆ
เก้าอี้ที่ดีควรปรับระดับความสูง-ต่ำได้ แต่หากปรับไม่ได้ ก็อาจจะต้องหาเก้าอี้ม้านั่งตัวเล็กวางไว้ด้านล่างเพื่อวางเท้า
ควรพักสายตาจากหน้าจอทุก 30-40 นาที
บทความที่เกี่ยวข้อง
U-Profex Joint Bone & Uni-oil ดีไหม
หาหมอแล้วไม่หาย ฉีดยาก็แล้วดีขึ้นช่วงหนึ่ง ไม่นานก็กลับมาปวดอีกครั้ง
ทั้งทำกายภาพบำบัด นวด ดึงหลัง ฝังเข็ม ทำมาทุกอย่างพอทุเลาไม่หาย กินอาหารเสริมมาหลายตัวแต่ก็ไม่ดีขึ้น และกลับไปหาหมออีกครั้งพร้อมคำแนะนำให้ผ่า ซึ่งไม่ได้การันตีว่าจะหายเป็นปกติหรือป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้อีก
ไม่ควรทานอาหารที่มีฟอสเฟสสูงจนเกินไป สามารถเลี่ยงไปทาน ไข่ขาว เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน น้ำชาที่ไม่ใส่นม น้ำสมุนไพรอย่าง น้ำขิง น้ำใบเตย น้ำมะนาว น้ำอัญชัน ข้าว เส้นก๋วยเตี๋ยว
คุณรู้หรือไม่?? อาการเจ็บปวดตามจุดต่างๆ ในร่างกาย... บ่งบอกถึงอะไร ลักษณะเด่นของโรคนี้ คือ อาการปวด ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตามจุดต่างๆ ทั่วร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีปัญหาในปวดที่เรื้อรัง อันเนื่องมาจากสาเหตุที่ไม่สามารถระบุได้ชัดเจน อาจเกิดจากความเครียด การทำกิจกรรมที่ใช้ร่างกายเป็นระยะเวลานาน การนอน คือ นอนไม่หลับ หรือนอนหลับก็ไม่สนิท ซึ่งเมื่อเป็นแบบนี้ก็ทำให้อาการปวดรุนแรง เจ็บปวดตามร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ